หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554




เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา



         ขณะนี้แนวคิดและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้งาน Web 2.0 กำลังได้รับความสนใจในวงกว้าง และมีการคาดการณ์ของวงการศึกษาในระดับโลกว่า รูปแบบการเรียนการสอน การจัดหลักสูตร และการบริหารจัดการการศึกษา รวมทั้งงานวิจัยจะต้องมีการผลิกผันเปลี่ยนโฉมไปอย่างมากในอนาคต


        ตัวอย่างที่สำคัญและชัดเจนก็คือ การจัดการเรียนการสอน ได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมที่อาจารย์จะเป็นต้นตอความรู้เพียงหนึ่งเดียว แต่ปัจจุบัน อาจารย์ กลายมาเป็น ผู้ประสานและกำหนดทิศทางของความรู้ที่ได้จากการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ เช่น หนังสือเรียน ห้องสมุด ข้อมูลชุมชน สื่อสารมวลชน ฐานข้อมูลออนไลน์ไปจนถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต        
         ผู้บริหารไอทีในสถานศึกษา หน่วยงานรัฐ ตลอดจนนักวิจัย และครูอาจารย์ในอนาคตจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานทางเทคโนโลยีปัจจุบัน ที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมทางการศึกษา แนวคิดและรูปแบบใหม่นี้จะเรียกว่า Education 3.0 โดยมีพื้นฐานมาจาก แนวคิด Web 2.0 ที่ปรับใช้เทคโนโลยีในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาและมีแนวโน้มเน้นหนักไปที่การสนับสนุนการทำงานร่วมกันในแบบออนไลน์ การแบ่งความรู้ร่วมกันในกลุ่มผู้เรียน โดยขณะนี้มีความพร้อมและการเติบโตมากับเทคโนโลยีเครือข่ายอย่างระบบอินเทอร์เน็ต ที่กลุ่มผู้เรียนมีความพร้อมในเทคโนโลยีดังกล่าว และกำลังเรียกร้องการเรียนที่ตอบสนองต่อการใช้งานผ่านเครือข่ายเน็ตเวิร์กมากขึ้น
สำหรับ Education 3.0 คือ แนวคิดทางการเรียนรู้ใหม่ล่าสุดที่ทั้งสถาบันการศึกษาและผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อถึงกันอย่างซับซ้อนผ่านเครือข่ายเน็ตเวิร์กได้จากทุกสถานที่ในทุกเวลา ในขณะที่เทคโนโลยีการเรียนรู้แบบต่างๆ ทั้งการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ตลอดจนการเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Immersive Learning) จะก้าวเข้ามามีบทบาทในการประสานกระบวนการเรียน การสอนในสถาบันการศึกษาจริงและการเรียนรู้ทางไกลทั้งในปัจจุบันและอนาคต


       การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง เป็นแนวคิดใหม่ที่ท้าทายการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยการจำลองสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ลักษณะเกือบเหมือนจริงทุกอย่าง เช่น ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทดลองในห้องแล็บของสถานศึกษาจริง แต่ผู้เรียนอยู่คนละสถานที่รวมทั้งเลือกวันเวลาที่จะเข้ามามีส่วนร่วมได้สะดวกในลักษณะออนดีมานด์ โดยแนวคิดที่กำลังพัฒนาขึ้นนี้จะช่วยลดช่องว่างของการเรียนการสอนออนไลน์แบบเดิมที่ผู้เรียนไม่ได้มีส่วนร่วมกับหลักสูตรเท่าที่ควร



       นายแอนดรูว์ ลิม ผู้อำนวยการส่วนงานขายภาครัฐ การศึกษา และสาธารณสุข ประจำพื้นเอเชียแปซิฟิก บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ กล่าวว่า ซัน กำลังมุ่งเน้นซอฟต์แวร์ Education 3.0 ไปที่วงการศึกษา เนื่องจากในขณะนี้การศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่ในตำราและสถานศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่สามารถที่จะหาข้อมูลและเชื่อมต่อประสานกันในการเรียนรู้ผ่านซอฟต์แวร์ Education 3.0 ที่เชื่อมโยงประสานระหว่างสถานศึกษา และชุมชนของการเรียนรู้ ตลอดจนตัวผู้เรียนเอง โดยผ่านเน็ตเวิร์กและทูลแบบโอเพ่นซอร์สการเรียนการสอนผ่านเว็บ และคอนเทนต์เนื้อหารายวิชาแบบเปิดกว้างแต่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ
ผอ.ส่วนงานขายภาครัฐ การศึกษา และสาธารณสุข บริษัท ซันฯ กล่าวต่อว่า ซัน จึงคิดค้นและออกแบบซอฟต์แวร์ Education 3.0เพื่อผลักดันให้มีการใช้งานไปยังสถาบันทางการศึกษาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยให้มีความพร้อมปรับใช้งานกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและรูปแบบการให้บริการที่จะเปลี่ยนไป โดยซัน ได้ฝึกอบรมวิธีการใช้งานระบบกับตัวแทนนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ไปแล้ว 500 คนทั่วโลก เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม สามารถนำโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ นำไปปรับกับใช้ในสถาบันการศึกษาของตน และในขณะนี้ซัน มีศูนย์เฉพาะทางที่คอยให้ความรู้อบรมถึง 80 ศูนย์ ส่วนในระยะแรกนี้ทางบริษัทฯตั้งเป้าตั้งแต่ก.ค.51-ก.ค.52 จะมีนักศึกษาประมาณ 5 แสนคนที่ใช้เทคโนโลยีของบริษัท
       “ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ผู้บริหารไอมีในสถาานศึกษา หน่วยงานรัฐ ตลอดจนนักวิจัย และครูอาจารย์ในอนาคตจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานทางเทคโนโลยี ที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมทางการศึกษา แนวคิดและรูปแบบใหม่ และปรับใช้เทคโนโลยีทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาและมีแนวโน้มเน้นไปที่การสนับสนุนการทำงานร่วมกันในแบบออนไลน์ การแชร์ความรู้ร่วมกันหมู่ที่เรียน“ นายแอนดรูว์ กล่าว
ด้าน ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ซอฟต์แวร์ บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวคิดในการเรียนการสอนในขณะนี้และอนาคตได้เปลี่ยนไป ในขณะนี้สถานศึกษาทั่วโลกตั้งแต่ระดับโรงเรียนจนถึงระดับอุดมศึกษากำลังเร่งปรับตัวรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยทุกสถาบันต้องรับมือกับบริการต่างๆ ที่ต้องบริการให้กับผู้เรียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในทุกที่ทุกเวลา รวมถึงในเรื่องของคอนเทนต์ออนไลน์และเนื้อหาประกอบการเรียนการสอนที่เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและความหลากหลาย ที่มีตั้งแต่ข้อความตัวอักษร ไปจนถึงภาพเคลื่อนไหว หรือ วีดีโอ ตลอดจนเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบเสมือนจริง อื่นๆ ที่ต้องใช้ระบบไอทีแบบโอเพ่นซอร์สที่ยืดหยุ่นและประหยัดในการใช้งานมากกว่าระบบเดิมมาสนับสนุน


            “ซันมีประสบการณ์มากมายในการสนับสนุนโซลูชันไอทีให้กับแวดวงภาครัฐ การศึกษา และสาธารณสุข ได้ช่วยให้ซันพร้อมเสมอในการแบ่งปันวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ตลอดจนแชร์ประสบการณ์การนำไปปฏิบัติใช้จริงในสถานศึกษาชั้นนำทั่วโลกที่เป็นลูกค้าผู้ใช้งานนับตั้งแต่ระบบเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ ซอฟต์แวร์ และเซอร์วิสต่างๆ โดยพร้อมนำเสนอโซลูชันที่นำสมัยที่จะมาเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุค Education 3.0 และช่วยแก้ไขปัญหาให้กับแวดวงการศึกษา รวมไปถึงนโยบายอื่นๆ ด้านหน่วยงานภาครัฐและสาธารณสุขของประเทศไทย เพื่อแสดงความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตต่อไป” ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ซอฟต์แวร์ บ.ซันฯ กล่าว


        คงเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า สถาบันการศึกษา ในทุกระดับกำลังให้ความสำคัญและหันความสนใจมาที่ตัวเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่ประเด็นสำคัญที่ต้องขบคิดกันต่อไปคือ เทคโนโลยีใหม่ๆในด้านการศึกษานี้จะส่งผลอย่างไรต่อ การใช้งานของผู้เรียน งานสอน งานวิจัย ในด้านต่างๆ...

ที่มา: www.edclass.pn.psu.ac.th/edtech/the-news/65-education30-.html